Flexicote CP เฟล็กซี่โค้ท ซีพี สีกันซึม มีความยืดหยุ่นสูง ลบรอยแตกร้าวลายงาบนหลังคาดาดฟ้าหรือผนังฝาผนัง หรือรอยแยกอันเกิดจากรอยต่อคอนกรีต
- Flexicote CP เป็นสีเคลือบเป็น MEMBRANE กันซึม ที่มีความยืดหยุ่นสูง ลักษณะภายนอกมีสีขาว เนื้อสีข้นคล้ายครีม ไม่มีพิษต่อผิวหนัง ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ
- เมื่อแห้งแล้วจะมีลักษณะเป็น membrane ที่มีความยืดหยุ่น กันซึม
- ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ถึง 100°C
- สามารถลบรอยแตกร้าวลายงาได้ โดยมีความยืดหยุ่นที่ดี จึงแก้ปัญหาได้ระยะยาว
- ผิวคอนกรีตยังหายใจได้ (breathe) ทำให้ความชื้นไม่ถูกกักไว้ภายใต้ membrane
- ประกอบด้วยสาร bactericide จึงไม่เกิดตะไคร่ และเชื้อรา
- ช่วยลดเสียง เป็นต้น ในเวลาฝนตกมีสีขาว ช่วยลดความร้อนภายในอาคารได้อย่างดีเยี่ยม (Solar Reflexive)
- ใช้แก้ปัญหารั่วซึมของอาคาร ซ่อมแซมรอยแตกร้าวลายงาบนดาดฟ้า ฝาผนัง หรือรอยแยกอันเกิดจากรอยต่อคอนกรีต
- ใช้ซ่อมรอยร้าวรั่วซึมกระเบื้องหลังคาทุกชนิด โดยใช้งานร่วมกับผ้าใยสังเคราะห์
- ซ่อมแซมลบรอยร้าวผนัง เพื่อตบแต่งก่อนทาสี โดยใช้งานร่วมกับผ้าใยสังเคราะห์
- รองพื้น ประมาณ 4-8 ตร.ม. ต่อ 1 กก. (ขึ้นกับสภาพพื้นผิว)
- ทาเที่ยวที่ 1 และเที่ยวที่ 2 ประมาณ 1 ตร.ม. ต่อ 1 กก. (2 เที่ยว)
- การเคลือบทาสามารถใช้แปรงทาสีน้ำมัน หรือ ลูกกลิ้งธรรมดา
- หากเป็นกรณีใช้เครื่องพ่นไร้อากาศ ควรใช้หัวฉีดขนาด 2 มม.
วิธีใช้ซ่อมแซมรอยร้าวรั่วซึมดาดฟ้า
การเตรียมผิว
- ผิวที่จะเคลือบต้องทำความสะอาด จนปราศจากคราบไข หรือสิ่งหลุดล่วงใด ๆ
- ถ้ามีสีเก่า เช่นพวกบิททูเมน ที่เคยทาอยู่ก่อน ก็ต้องสำรวจ สังเกตว่าจุดใดยึดเกาะไม่ดี ก็ต้องทำความสะอาดเอาออก
รองพื้น
- ควรรองพื้นด้วย Flexicote CP ซึ่งผสมกับน้ำประมาณ 10-20% โดยปริมาตร แล้วปล่อยให้แห้งเป็นฟิล์มบาง ๆ ก่อนทาโค้ตต่อไป
กรณีซ่อมรอยร้าวลายงา
- หากเป็นรอยร้าวตั้งแต่ 0.5 - 1 มม.ขึ้นไป ควรใช้ผ้าใยสังเคราะห์ปิดทาบตามแนวแตกร้าว หรือรอยต่อคอนกรีต ให้มีความกว้างอย่างน้อย 10 ซม. ขึ้นไป โดยใช้ Flexicote CP เป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นผิวกับใยสังเคราะห์ ทิ้งไว้จนแห้ง แล้วจึงเคลือบด้วย Flexicote CP ทับอีกจำนวน 2 เที่ยว (ควรรอให้เที่ยวแรกแห้งเสียก่อน)
กรณีเคลือบกันซึมดาดฟ้า
- เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรเคลือบทา Flexicote CP (โดยไม่ต้องผสมน้ำ) อย่างน้อย 2 เที่ยว หลังจากรองพื้นที่ทาไว้แห้งแล้ว โดยทาทับผ้าใยสังเคราะห์ชนิดหน้ากว้าง เพื่อเป็นตัวเสริมความแข็งแรงอยู่ในชั้นกลาง
- การทาเที่ยวที่ 2 จะต้องรอให้เที่ยวแรกแห้งเสียก่อน
กรณีใช้ซ่อมแซมตก แต่งลบรอยร้าวก่อนงานทาสี
- ปิดซ่อมรอยร้าวด้วย Flexicote CP และผ้าใยสังเคราะห์ตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง (ประมาณ 4 - 6 ชม.)
- จากนั้น ใช้ยิปซั่ม โป๊วแต่งบาง ๆ เพื่อลบรอยขอบผ้าใยสังเคราะห์ แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ยิปซั่มแห้งตัว (หากซ่อมรอยร้าวภายนอกอาคาร ไม่ควรใช้ยิปซั่ม อาจใช้เนื้อสีสำหรับทาภายนอก ข้น ๆ ไม่ผสมน้ำ โป๊วแต่งแทน)
- ใช้กระดาษทรายชนิดละเอียดลูบแต่งผิวยิปซั่มเบา ๆ ให้เนียนเรียบ เพื่อทาสีให้สวยงามต่อไป
- สีจะแห้งตัวภายใน 4 - 6 ชม. ขึ้นกับสภาพอากาศ ดังนั้น สีที่ยังไม่แห้งตัวจึงไม่ควรถูกน้ำ หรือฝน ซึ่งสีอาจละลายไปกับน้ำได้ และสีจะกันน้ำซึมได้ดีเยี่ยมเมื่อแห้งตัวเต็มที่แล้ว (ประมาณ 6 - 12 ชม. ขึ้นกับสภาพอากาศ)
- ควรแช่หัวฉีดไว้ในน้ำถ้าไม่ได้ใช้งาน และทำความสะอาดเครื่องพ่น หรือแปลงทาสีทันทีที่เลิกงานด้วยน้ำสะอาด
- อาจใช้แม่สีอะครีลิคผสมได้ประมาณ 2% (โดยน้ำหนัก) เพื่อให้ได้สีตามต้องการ